ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับท่าอากาศยานนานาชาติทั่วโลก
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิติด 1 ใน 5 ท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลก!
ถ้ามีการจัดอันดับสถานที่ต่างๆ การันตีว่า “ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ” ต้องไม่ทำให้คนไทยผิดหวังอย่างแน่นนอน! และก็เป็นเช่นนั้นจริงๆค่ะ เมื่อ “SKYTRAX” หน่วยงานที่จัดอันดับท่าอากาศยานดีเด่นระดับโลก ได้ทำการจัดอันดับท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลกประจำปี 2558 และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิของเราสามารถคว้าอับดับที่ 5 ของโลกมาครอบครองได้อย่างสมศักดิ์ศรี
“SKYTRAX” หรือ “SKYTRAX World Airport Awards” จัดอันดับให้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ติด Top 5 อันดับที่ 5 ประเภทผู้โดยสารใช้บริการ 40 – 50 ล้านคนต่อปี ประจำปี 2558 จากการคัดเลือกของผู้ใช้สนามบินทั่วโลกกว่า 13 ล้านคน!
ท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลกประจำปี 2558
1. ท่าอากาศยานอินชอน ประเทศเกาหลีใต้
2. ท่าอากาศยานกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
3. ท่าอากาศยานอาดอลโฟ ซัวเรส มาดริด-บาราคัส ประเทศสเปน
4. ท่าอากาศยานซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา
5. ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประเทศไทย
1. ท่าอากาศยานอินชอน ประเทศเกาหลีใต้
2. ท่าอากาศยานกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
3. ท่าอากาศยานอาดอลโฟ ซัวเรส มาดริด-บาราคัส ประเทศสเปน
4. ท่าอากาศยานซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา
5. ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประเทศไทย
นอกจากคว้าอันดับ5 จากการจัดอันดับของ “SKYTRAX” แล้ว ความไม่ธรรมดาของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิยังไม่หมดเพียงเท่านี้! ยังได้ถูกจัดให้เป็นท่าอากาศยานที่ดีที่สุดอันดับที่ 10 ของโลกในประเภท “Best Airport Staff in Asia”และ อันดับที่ 47 ของโลกในประเภท “The World’s Top 100 Airports” ซึ่งการโหวตก็ใช่ว่าจะทำกันได้ง่ายๆซะที่ไหน! เพราะ “SKYTRAX” ได้เปิดโอกาสให้ผู้โดยสารจาก 112 สัญชาติทั่วโลกกว่า 13ล้านคนทำการให้คะแนนสนามบินที่ตนเองชื่นชอบจำนวน550แห่งผ่านทางเว็บไซต์ www.worldairportsurvey.com บวกกับการตอบแบบสอบถามความคิดเห็นทางโทรศัพท์ ช่วงเดือนกรกฎาคม 2557 – ต้นปี 2558 ที่ผ่านมา
นอกจากเป็นท่าอากาศยานที่ดีที่สุดแล้ว “ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ” ยังถูกจัดอันดับจากสถาบันอื่นๆอีกมากมายอย่างเช่นรางวัลท่าอากาศยานดีเด่นอันดับ6ของโลกประจำปี2557จากเว็บไซต์smarttravelasia.comและ1ใน10สนามบินที่น่านอนที่สุดของเอเชียจากsleepinginairports.net ที่ได้รางวัลนี้อาจเพราะพื้นที่กว้างขวาง และสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ที่มีให้ผู้โดยสารพักผ่อนระหว่างรอขึ้นเครื่องนั่นเองค่ะ
“ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ” ท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในเมืองไทย และดีที่สุดติดระดับโลก ไม่ทำให้ผู้ใช้ต้องผิดหวังด้วยบริการที่ดี พื้นที่กว้างขวาง บรรยากาศอันอบอุ่น และรอยยิ้มอันเป็นมิตรจริงใจ ที่เป็นตัวชูโรงให้นักท่องเที่ยวทุกคนต่างประทับใจไม่รู้ลืม เรียกได้ว่าสวยงาม อลังการสมคำร่ำลือ และสมศักดิ์ศรี Top 5 ของโลกจริงๆค่ะ
ท่าอากาศยานนนานาชาติสุวรรณภูมิ
ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ (IATA: BKK, ICAO: VTBS) เป็นสนามบินตั้งอยู่ที่ถนนบางนา-บางปะกงและทางพิเศษบูรพาวิถี ในเขตตำบลหนองปรือและตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ห่างจากใจกลางเมืองกรุงเทพมหานครประมาณ 25 กิโลเมตร เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 รัฐบาลได้กำหนดให้ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิเป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศไทยแทนท่าอากาศยานดอนเมือง และตั้งเป้าให้เป็นศูนย์กลางการบินในทวีปเอเชีย อีกทั้งการเน้นพัฒนาคุณภาพการให้บริการของท่าอากาศยานให้ได้รับการจัดอันดับ 1 ใน 10 ท่าอากาศยานที่มีคุณภาพการบริการดีที่สุดในโลกในปี พ.ศ. 2553
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีหอควบคุมที่สูงเป็นอับดับสองของโลก (132.2 ม.) และอาคารผู้โดยสารเดี่ยวที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของโลก (563,000 ม.²) ปัจจุบันเป็นหนึ่งในท่าอากาศยานที่มีผู้โดยสารมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก (สามารถรองรับเที่ยวบิน 76 เที่ยวต่อชั่วโมง และผู้โดยสาร 45 ล้านคนต่อปี) และศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศ (สามารถรองรับสินค้าได้ 3 ล้านตันต่อปี) นอกจากนี้ ยังมีทางหลวงพิเศษที่ทันสมัย ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างท่าอากาศยาน กรุงเทพมหานคร และนิคมอุตสาหกรรมอิสเทิร์น ซีบอร์ดสายการบินหลายแห่ง ได้แก่ การบินไทย การบินไทยสมายล์และบางกอกแอร์เวย์ ได้เลือกท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นศูนย์กลางการบิน
การก่อสร้าง
สถาปนิกผู้ออกแบบอาคาร คือ เฮลมุต ยาห์น ชาวอเมริกัน-เยอรมัน และบริษัทเมอร์ฟี/ยาห์น ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองชิคาโกสหรัฐอเมริกา แต่แบบอาคารในท่าอากาศยานเป็นจำนวนมากได้ถูกปรับเปลี่ยนขนาด และวัสดุก่อสร้างจากแบบเดิมไปในหลายส่วน เช่น เพิ่มการประดับยักษ์ และสถาปัตยกรรมไทยเพิ่มเข้าไปโดยสถาปนิกชาวไทย เป็นต้น
รายชื่อบริษัทที่ร่วมก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ:[11]
- สถาปนิก - เมอร์ฟี/ยาห์น (Murphy / Jahn)
- ประสานงาน - ACT
- ผู้จัดการโครงการ - TAMS/Earth Tech
- วิศวกร
- Werner Sobek Ingenieure (โครงสร้าง)
- Transsolar Energietechnik (สภาพแวดล้อม)
- Martin/Martin (โครงสร้างตัวอาคาร)
- John A. Martin & Associates (โครงสร้างคอนกรีต)
- Flack + Kurtz (งานระบบ)
- ที่ปรึกษา
- AIK - Yann Kersalé (ระบบแสง)
- BNP (ระบบกระเป๋า)
- ผู้รับเหมา - ITO Joint
- คอนกรีต - อิตาเลียน-ไทย
- หลังคา - B&O Hightex
- สแตนเลส - Thapanin
- ระบบกระเป๋า - คาวาซากิ
งบประมาณการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 50% เป็นงบประมาณของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ในขณะที่อีก 50% มาจากข้อตกลงระหว่างท่าอากาศยานไทยกับธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น[12] ฝ่ายจัดหาที่เกี่ยวข้องกับสนามบินปฏิบัติตามแนวปฏิบัติของธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่นอย่างเคร่งครัดในด้านความโปร่งใสและการเปิดเผย ถึงแม้ว่าท่าอากาศยานดังกล่าวก่อสร้างขึ้นตามนโยบายประชานิยม ดังที่เคยประกาศไว้ว่าท่าอากาศยานดังกล่าวสำหรับผู้โดยสาร แต่บริษัทส่งออกทั้งไทยและต่างประเทศก็ต้องการให้มีการก่อสร้างท่าอากาศยานตามถนนมอเตอร์เวย์ระหว่างโรงงานอุตสาหกรรม กรุงเทพมหานคร และแหลมฉบังด้วยเช่นกัน
รูปภาพเพิ่มเติม
.ใช้เวลา....กว่า 48 ปี ! ครึ่งชีวิตคน |
ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง
ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง (ชื่อเดิมคือ ท่าอากาศยานกรุงเทพ) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า สนามบินดอนเมือง ตั้งอยู่บนถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง 24 กิโลเมตร ทางตอนเหนือของกรุงเทพมหานคร เป็นจุดศูนย์กลางทางการบินในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สามารถเชื่อมโยงการคมนาคมทางอากาศไปยังจุดต่างๆ ของโลกได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการบินภายในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน หรือระหว่างทวีปยุโรป ทวีปอเมริกา ทวีปออสเตรเลีย ซึ่งสามารถใช้เป็นจุดแวะลงและเชื่อมต่อในการเดินทางของผู้โดยสารตลอดจนพัสดุไปรษณียภัณฑ์ไปยังจุดอื่นๆ ได้อย่างดี
เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2457 โดยปิดตัวลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 วันเดียวกับที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเปิดใช้งาน โดยสนามบินดอนเมืองถูกเปลี่ยนเป็นสถานที่ซ่อมเครื่องบิน ฝึกบิน และสำหรับจอดเครื่องบินส่วนตัวของบุคคลสำคัญ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา ท่าอากาศยานดอนเมืองได้กลับมาให้บริการเที่ยวบินแบบประจำ (scheduled flight) เที่ยวบินในประเทศอีกครั้งโดยมี สายการบินไทย นกแอร์ วันทูโก และพีบีแอร์มาเปิดให้บริการในลำดับแรก หลังจากพบปัญหาหลายอย่างที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ[1] และในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ท่าอากาศยานดอนเมืองได้กลับมาเปิดให้บริการในฐานะสนามบินนานาชาติแห่งที่สองอีกครั้ง เนื่องด้วยนโยบายรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรต้องการลดความแออัดของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิลง
อาคารผู้โดยสารปัจจุบันท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง มีอาคารผู้โดยสาร 3 อาคาร คือ อาคาร 1 อาคาร 2 และอาคาร 3 ทุกอาคารตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของสนามบิน ด้านหน้าติดกับถนนวิภาวดีรังสิต เรียงลำดับจากทิศเหนือไปทิศใต้ (จากซ้ายไปขวาเมื่อหันหน้าเข้าหาสนามบินจากถนนวิภาวดีรังสิต) โดยอาคารแรกที่ก่อสร้าง คือ อาคาร 3 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2528 (โดยมีการขยายอาคาร 3 เพิ่มเติมในภายหลัง ซึ่งแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2538) ต่อมา คือ อาคาร 1 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2531 และสุดท้าย คือ อาคาร 2 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2538
รูปภาพเพิ่มเติม
เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2457 โดยปิดตัวลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 วันเดียวกับที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเปิดใช้งาน โดยสนามบินดอนเมืองถูกเปลี่ยนเป็นสถานที่ซ่อมเครื่องบิน ฝึกบิน และสำหรับจอดเครื่องบินส่วนตัวของบุคคลสำคัญ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา ท่าอากาศยานดอนเมืองได้กลับมาให้บริการเที่ยวบินแบบประจำ (scheduled flight) เที่ยวบินในประเทศอีกครั้งโดยมี สายการบินไทย นกแอร์ วันทูโก และพีบีแอร์มาเปิดให้บริการในลำดับแรก หลังจากพบปัญหาหลายอย่างที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ[1] และในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ท่าอากาศยานดอนเมืองได้กลับมาเปิดให้บริการในฐานะสนามบินนานาชาติแห่งที่สองอีกครั้ง เนื่องด้วยนโยบายรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรต้องการลดความแออัดของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิลง
อาคารผู้โดยสารปัจจุบันท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง มีอาคารผู้โดยสาร 3 อาคาร คือ อาคาร 1 อาคาร 2 และอาคาร 3 ทุกอาคารตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของสนามบิน ด้านหน้าติดกับถนนวิภาวดีรังสิต เรียงลำดับจากทิศเหนือไปทิศใต้ (จากซ้ายไปขวาเมื่อหันหน้าเข้าหาสนามบินจากถนนวิภาวดีรังสิต) โดยอาคารแรกที่ก่อสร้าง คือ อาคาร 3 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2528 (โดยมีการขยายอาคาร 3 เพิ่มเติมในภายหลัง ซึ่งแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2538) ต่อมา คือ อาคาร 1 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2531 และสุดท้าย คือ อาคาร 2 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2538
รูปภาพเพิ่มเติม
ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่
ท่าอากาศยานเชียงใหม่ หรือสนามบินเชียงใหม่ (อังกฤษ: Chiang Mai International Airport) ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ 4 กิโลเมตร ในตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นท่าอากาศยานนานาชาติแห่งหนึ่ง ในจำนวนทั้งหมด 6 แห่ง ที่ดำเนินงานโดยบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางทางการบินของภาคเหนืออีกด้วย โดยมีเที่ยวบินเข้าออกหนาแน่นเป็นลำดับสี่ รองจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานภูเก็ต
สนามบินสุเทพ เริ่มทำการบินเป็นครั้งแรก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 (77 ปีมาแล้ว) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สนามบินเชียงใหม่, ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ และชื่อปัจจุบันคือ ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ตามลำดับ มีพื้นที่กว่า 1,600 ไร่ ปัจจุบันมีอาคารผู้โดยสาร 2 หลัง คือหลังเดิม เป็นอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ และหลังใหม่ เป็นอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ โดยท่าอากาศยานแห่งนี้ สามารถรองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 8 ล้านคนต่อปี และมีสถิติปริมาณอากาศยานพาณิชย์ขึ้นลง ในปี พ.ศ. 2549จำนวน 24,469 เที่ยวบิน, พ.ศ. 2550 จำนวน 26,708 เที่ยวบิน, พ.ศ. 2554 จำนวน 32,445 เที่ยวบิน และล่าสุด พ.ศ. 2555จำนวนมากกว่า 37,000 เที่ยวบิน
สนามบินสุเทพ เริ่มทำการบินเป็นครั้งแรก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 (77 ปีมาแล้ว) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สนามบินเชียงใหม่, ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ และชื่อปัจจุบันคือ ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ตามลำดับ มีพื้นที่กว่า 1,600 ไร่ ปัจจุบันมีอาคารผู้โดยสาร 2 หลัง คือหลังเดิม เป็นอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ และหลังใหม่ เป็นอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ โดยท่าอากาศยานแห่งนี้ สามารถรองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 8 ล้านคนต่อปี และมีสถิติปริมาณอากาศยานพาณิชย์ขึ้นลง ในปี พ.ศ. 2549จำนวน 24,469 เที่ยวบิน, พ.ศ. 2550 จำนวน 26,708 เที่ยวบิน, พ.ศ. 2554 จำนวน 32,445 เที่ยวบิน และล่าสุด พ.ศ. 2555จำนวนมากกว่า 37,000 เที่ยวบิน
ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต
ท่าอากาศยานภูเก็ต หรือ สนามบินภูเก็ต เป็นสนามบินตั้งอยู่ที่ เหนือสุดของเกาะภูเก็ตเป็นท่าอากาศยานที่มีเที่ยวบินหนาแน่นเป็นอันดับที่สามของประเทศ รองจากท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ มีเที่ยวบินทั้งในและต่างประเทศ บินมาลงทุกวัน ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีมาตรฐานทั้งในด้านการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ตั้งอยู่เลขที่ 222 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4026 ตำบลไม้ขาวอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 32 กิโลเมตร เนื้อที่โดยประมาณ 94,800 ตารางเมตร แท๊กซี่เวย์ 8 จุด ทิศเหนือเป็นภูเขา ทิศใต้เป็นสวนยางพารา ทิศตะวันตกเป็นชายฝั่งทะเลอันดามัน สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 6,500,000 คนต่อปี ปัจจุบัน บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) มีแผนที่จะขยายสนามบินแห่งนี้ ซึ่งจะช่วยให้สนามบินสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 12,500,000 คนต่อปี คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2558-2559
รูปภาพเพิ่มเติม
ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่
ท่าอากาศยานหาดใหญ่ หรือ สนามบินหาดใหญ่ (IATA: HDY, ICAO: VTSS) ตั้งอยู่ที่ 99 หมู่ 3 ถนนสนามบินพาณิชย์ ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา 90115 บริหารงานโดยบมจ. ท่าอากาศยานไทย โดยมี นาวาอากาศเอก นรนิติ์ ผลกานนท์ เป็นผู้อำนวยการท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่ เป็นท่าอากาศยานที่สำคัญ เนื่องจากเป็นประตูทางออกสำหรับชาวมุสลิมที่ต้องการไปแสวงบุญที่นครเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่มีเที่ยวบินมากเป็นอันดับ 5 ของประเทศ รองจาก ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิท่าอากาศยานภูเก็ต ท่าอากาศยานดอนเมือง และ ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ตามลำดับ ปัจจุบันมีผู้โดยสารประมาณ 1,869,113 คน เที่ยวบิน 7,403 เที่ยวบินและสินค้าประมาณ 8,965 ตันใช้บริการท่าอากาศยานแห่งนี้ ทั้งนี้ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่ มีความสามารถในการรองรับเที่ยวบินได้ 30 เที่ยวบิน/ชม. รองรับผู้โดยสารได้ปีละ 1,900,000 คน และรองรับสินค้าได้ปีละ 13,800 ตัน
การพัฒนาท่าอากาศยาน
บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) ตระหนักถึงความสำคัญการดำเนินธุรกิจท่าอากาศยานโดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการพัฒนาท่าอากาศยานหาดใหญ่ จะเป็นการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของท่าอากาศยานหาดใหญ่ให้สามารถรองรับปริมาณการจราจรทางอากาศและผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นได้จนถึงปี 2568 กล่าวคือ จะพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถของระบบทางวิ่งทางขับจากเดิม 20 เที่ยวบินต่อชั่วโมง ให้เพิ่มเป็น 34 เที่ยวบิน ต่อชั่วโมง, ปรับปรุงอาคารผู้โดยสารให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้นจาก 2.55 ล้านคนต่อปีเป็น 5 ล้านคนต่อปี, ปรับปรุงอาคารคลังสินค้า ให้สามารถรองรับได้เพิ่มขึ้นจาก 13,800 ตันต่อปี เป็น 25,000 ต่อปี และขยายพื้นที่จอดรถยนต์ให้รองรับเพิ่มขึ้นจาก 650 คัน เป็น 1,100 คัน โดยมีเนื้องานตามโครงการพัฒนาท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ปี 2558-2560) ดังนี้
โครงการงานออกแบบก่อสร้างทางขับขนานเส้นใหม่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของทางวิ่ง จำนวน 1 เส้น (อยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะดำเนินการเป็นแบบ Partial Parallel Taxiway หรือ Parallel Taxiway) โครงการงานออกแบบก่อสร้างอาคารผู้โดยสารใหม่ จำนวน 1 หลัง โครงการงานออกแบบก่อสร้าง ขยายและปรับปรุงลานจอดอากาศยานให้สามารถรองรับอากาศยานได้พร้อมกัน 15 หลุมจอด โครงการงานออกแบบก่อสร้างอาคารคลังสินค้าใหม่งานออกแบบก่อสร้างอาคารสนับสนุน เช่น อาคาร/ลานจอดรถยนต์โดยสาร อาคารศูนย์รักษาความปลอดภัย อาคาร GSE อาคารอเนกประสงค์ โครงการงานออกแบบและก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค ทหญ. ซึ่งประกอบด้วยระบบไฟฟ้า ระบบน้ำประปา ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบสื่อสาร และระบบเก็บขยะ
รูปภาพเพิ่มเติม
10 อันดับสนามบินที่ดีที่สุดในโลก
อันดับที่ 1 Singapore Changi Airport (SIN)
ท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงี หรือเรียกโดยทั่วไปว่าสนามบินชางงี ตั้งอยู่ในเขตชางงี เป็นท่าอากาศยานหลักของสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์, สิงคโปร์แอร์ไลน์คาร์โก, ซิลค์แอร์, ไทเกอร์แอร์เวย์, เจ็ตสตาร์เอเชียแอร์เวย์ และแวลูแอร์ ท่าอากาศยานแห่งนี้เปิดทำการตั้งแต่ปี 1981 อายุรวมๆก็ 33 ปีแล้วค่ะ
อันดับ 2 Incheon International Airport (ICN)
ท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน ตั้งอยู่ที่เกาะยางจอง เมืองอินช็อน ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของกรุงโซล โดยรองรับการเป็นท่าอากาศยานหลักของเกาหลีใต้ และสายการบินแห่งชาติอย่างโกเรียนแอร์ รวมทั้งเอเชียน่าแอร์ไลน์ และคาร์โก360 แทนที่ท่าอากาศยานกิมโป (เดิมคือท่าอากาศยานนานาชาติกิโป) นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2544 เป็นต้นมา
คำขวัญของท่าอากาศยานแห่งนี้คือ More than an Airport, Beyond Expectation
อันดับ 2 Incheon International Airport (ICN)
ท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน ตั้งอยู่ที่เกาะยางจอง เมืองอินช็อน ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของกรุงโซล โดยรองรับการเป็นท่าอากาศยานหลักของเกาหลีใต้ และสายการบินแห่งชาติอย่างโกเรียนแอร์ รวมทั้งเอเชียน่าแอร์ไลน์ และคาร์โก360 แทนที่ท่าอากาศยานกิมโป (เดิมคือท่าอากาศยานนานาชาติกิโป) นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2544 เป็นต้นมา
คำขวัญของท่าอากาศยานแห่งนี้คือ More than an Airport, Beyond Expectation
อันดับ 3 Munich Airport (MUC)
ท่าอากาศยานมิวนิก (อังกฤษ: Munich International Airport) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ท่าอากาศยานมิวนิกฟรานซ์โยเซฟชเทราซ์ (เยอรมัน: Flughafen München Franz Josef Strauß, อังกฤษ: Franz Josef Strauss International Airport) เพื่อเป็นเกียรติต่อฟรานซ์ โจเซฟ สเตราส์ อดีตผู้ว่าการรัฐบาวาเรีย ท่าอากาศยานแห่งนี้ตั้งอยู่ที่มิวนิก เยอรมนี ห่างจากตัวเมืองไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ 28 กิโลเมตร (17.5 ไมล์) มิวนิกเป็นท่าอากาศที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของเยอรมนี รองจากท่าอากาศยานนานาชาติแฟรงค์เฟิร์ต และเป็นท่าอากาศยานหลักของลุฟต์ฮันซา
ท่าอากาศยานมิวนิก (อังกฤษ: Munich International Airport) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ท่าอากาศยานมิวนิกฟรานซ์โยเซฟชเทราซ์ (เยอรมัน: Flughafen München Franz Josef Strauß, อังกฤษ: Franz Josef Strauss International Airport) เพื่อเป็นเกียรติต่อฟรานซ์ โจเซฟ สเตราส์ อดีตผู้ว่าการรัฐบาวาเรีย ท่าอากาศยานแห่งนี้ตั้งอยู่ที่มิวนิก เยอรมนี ห่างจากตัวเมืองไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ 28 กิโลเมตร (17.5 ไมล์) มิวนิกเป็นท่าอากาศที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของเยอรมนี รองจากท่าอากาศยานนานาชาติแฟรงค์เฟิร์ต และเป็นท่าอากาศยานหลักของลุฟต์ฮันซา
อันดับที่ 4 Hong Kong International Airport (HKG)
ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง หรือเรียกโดยทั่วไปว่าสนามบินเช็กแล็บก็อก เป็นท่าอากาศยานหลักของเขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน เปิดใช้เมื่อปีพ.ศ. 2541 แทนที่ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกงเดิม ท่าอากาศยานแห่งนี้เปิดใช้งานเพื่อการพาณิชย์เมื่อปี พ.ศ. 2541 และเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารที่สำคัญของสาธารณรัฐประชาชนจีน เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้ว่าจะมีประวัติความเป็นมาไม่ยาวนานนัก แต่ท่าอากาศยานแห่งนี้ก็ได้รับรางวัลท่าอากาศยานยอดเยี่ยมระดับนานาชาติมาหลายครั้งในช่วงปี พ.ศ. 2544-2548 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2549 จึงเสียตำแหน่งในรางวัลท่าอากาศยานยอดเยี่ยมที่มอบโดย Skytrax ให้แก่ท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงี
ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง หรือเรียกโดยทั่วไปว่าสนามบินเช็กแล็บก็อก เป็นท่าอากาศยานหลักของเขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน เปิดใช้เมื่อปีพ.ศ. 2541 แทนที่ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกงเดิม ท่าอากาศยานแห่งนี้เปิดใช้งานเพื่อการพาณิชย์เมื่อปี พ.ศ. 2541 และเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารที่สำคัญของสาธารณรัฐประชาชนจีน เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้ว่าจะมีประวัติความเป็นมาไม่ยาวนานนัก แต่ท่าอากาศยานแห่งนี้ก็ได้รับรางวัลท่าอากาศยานยอดเยี่ยมระดับนานาชาติมาหลายครั้งในช่วงปี พ.ศ. 2544-2548 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2549 จึงเสียตำแหน่งในรางวัลท่าอากาศยานยอดเยี่ยมที่มอบโดย Skytrax ให้แก่ท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงี
อันดับที่ 5 Amsterdam Schiphol Airport (AMS)
Amsterdam Airport Schiphol เป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศเนเธอร์แลนด์ ทั้งนี้ยังเป็นท่าอากาศยานที่มีจำนวนผู้โดยสารเยอะเป็นอันดับสี่ของยุโรปอีกด้วย เป็นท่าอากาศยานหลักของสายการบินเคแอลเอ็ม
Amsterdam Airport Schiphol เป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศเนเธอร์แลนด์ ทั้งนี้ยังเป็นท่าอากาศยานที่มีจำนวนผู้โดยสารเยอะเป็นอันดับสี่ของยุโรปอีกด้วย เป็นท่าอากาศยานหลักของสายการบินเคแอลเอ็ม
อันดับที่ 6 Tokyo International Airport Haneda (HND)
ท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว ตั้งอยู่ที่เมืองโอตะ กรุงโตเกียว ญี่ปุ่น รองรับการบริการกรุงโตเกียว
ในปีพ.ศ. 2547 ท่าอากาศยานนานาชาตินะริตะ หรือท่าอากาศยานโตเกียวแห่งใหม่ ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศทั้งหมดของโตเกียว เหลือเพียงเที่ยวบินไปยังท่าอากาศยานนานาชาติกิมโป ในกรุงโซล เกาหลีใต้ เท่านั้นที่ยังให้บริการอยู่ที่ท่าอากาศยานฮะเนะดะ แม้ว่าสนามบินฮะเนะดะจะให้บริการเที่ยวบินภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ แต่ยอดผู้โดยสารที่มาใช้บริการมีจำนวนมากถึง 67 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2550 มากที่สุดทั้งในญี่ปุ่น และเอเชีย
ท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว ตั้งอยู่ที่เมืองโอตะ กรุงโตเกียว ญี่ปุ่น รองรับการบริการกรุงโตเกียว
ในปีพ.ศ. 2547 ท่าอากาศยานนานาชาตินะริตะ หรือท่าอากาศยานโตเกียวแห่งใหม่ ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศทั้งหมดของโตเกียว เหลือเพียงเที่ยวบินไปยังท่าอากาศยานนานาชาติกิมโป ในกรุงโซล เกาหลีใต้ เท่านั้นที่ยังให้บริการอยู่ที่ท่าอากาศยานฮะเนะดะ แม้ว่าสนามบินฮะเนะดะจะให้บริการเที่ยวบินภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ แต่ยอดผู้โดยสารที่มาใช้บริการมีจำนวนมากถึง 67 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2550 มากที่สุดทั้งในญี่ปุ่น และเอเชีย
อันดับที่ 7 Beijing Capital International Airport (PEK)
ท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง ตั้งอยู่ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน รหัสสนามบิน IATA ของปักกิ่งคือ PEK มาจากการถอดความชื่อของปักกิ่งเป็นอักษรโรมันแบบเดิม (Peking) ด้วยระบบถอดความแบบใหม่ (เป็น Beijing) ทำให้ในบางครั้งท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่งใช้รหัสสนามบิน IATA ว่า BJS ปักกิ่ง เป็นท่าอากาศยานหลักของสายการบินแอร์ไชน่า, ไชน่าซิงหัวแอร์ไลน์ และไชน่าเซาเทิร์นแอร์ไลน์ และยังเป็นท่าอากาศยานที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุดอับดับที่ 2 ในเอเชีย
คำขวัญของท่าอากาศยานปักกิ่ง Advance the Chinese Service, Develop an International Hub
ท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง ตั้งอยู่ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน รหัสสนามบิน IATA ของปักกิ่งคือ PEK มาจากการถอดความชื่อของปักกิ่งเป็นอักษรโรมันแบบเดิม (Peking) ด้วยระบบถอดความแบบใหม่ (เป็น Beijing) ทำให้ในบางครั้งท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่งใช้รหัสสนามบิน IATA ว่า BJS ปักกิ่ง เป็นท่าอากาศยานหลักของสายการบินแอร์ไชน่า, ไชน่าซิงหัวแอร์ไลน์ และไชน่าเซาเทิร์นแอร์ไลน์ และยังเป็นท่าอากาศยานที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุดอับดับที่ 2 ในเอเชีย
คำขวัญของท่าอากาศยานปักกิ่ง Advance the Chinese Service, Develop an International Hub
10 อันดับ สนามบินที่สวยที่สุดในโลก
เริ่มกันเบาๆ ที่ อันดับ 10. Terminal 4, Barajas Airport, Madrid
อันดับ 9. TWA Terminal, John F. Kennedy Airport, New York City
อันดับ 8. Carrasco International Airport, Montevideo, Uruguay
อันดับ 7. Sondika Airport, Bilbao, Spain
อันดับ 6. Denver International Airport
อันดับ 5. Incheon International Airport, South Korea
อันดับ 4. Marrakech Menara Airport, Morocco
อันดับ 3. Chek Lap Kok Airport, Hong Kong
อันดับ 2. Kansai International Airport, Osaka, Japan
อันดับ 1. Terminal 3, Beijing International Airport
“สนามบินนานาชาติปักกิ่ง อาคาร 3” สุดยอดดด บ้านใกล้เรือนเคียงของเรานี่เอง พี่จีนอีกแล้ว!!!! สร้างขึ้นในปี 2008 เสร็จสมบูรณ์พร้อมรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในตอนนั้น เรียกว่าอาศัยจังหวะเปิดตัวอวดชาวโลกกันเลยทีเดียว และก็ไม่พลาดเป้า! ดีและเจ๋งแบบนี้ จึงได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารฉบับหนึ่งให้เป็น “สนามบินดีที่สุดของโลก” ใน ปี 2009 ซึ่งวัดจากกฎเกณฑ์ ปัจจัยต่างๆ ตั้งแต่ ความสะอาด ความสวยงาม ความสะดวกสบาย การรักษาความปลอดภัย ระบบตรวจคนเข้าเมือง ระบบการจัดการรอบด้านต่างๆ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลก็มีผลมาจากความล้ำ นำสมัย ที่พี่จีนเค้าตั้งใจเนรมิตให้ “สวยทั้งรูป จูบก็ประทับใจ
อันดับว่าวิวสวยที่สุดในโลก ในปี 2015 มีที่ไหนกันบ้าง สวยแค่ไหนมาชมภาพ