Archive for กุมภาพันธ์ 2016
10 อันดับ สนามบินที่แย่ที่สุดในโลก
ขอนำเสนอข้อมูลการจัดอันดับสนามบินที่ให้บริการไม่ประทับใจ ไม่สะอาด ไม่สะดวก ไม่สบาย บางครั้งถึงกับอยู่ไม่ได้ จากการสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เคยไปเยือน 10 อันดับ สนามบินที่แย่ที่สุดในโลก
สนามบินที่แย่ที่สุดในโลก
อันดับ 10. สนามบินฮีทโธรว์ ประเทศอังกฤษ
อันดับ 10 สนามบินฮีทโธรว์ ประเทศอังกฤษ มักถูกนักท่องเที่ยวร้องเรียนในเรื่องของความสกปรก ตั้งแต่พรมมีกลิ่นอับชื้น เต็มไปด้วยตัวหมัด ป้ายบอกทางสับสน เก้าอี้ไม้สุดแข็งปรับเอนไม่ได้ สร้างความไม่ประทับใจขณะรอขึ้นเครื่อง
สนามบินที่แย่ที่สุดในโลก อันดับ 9. สนามบินโรม ประเทศอิตาลี
อันดับ 9 สนามบินโรม ประเทศอิตาลี อบอวลไปด้วยการประกาศเสียงตามสายบ่อยครั้ง มากมายด้วยมวลอุจจาระนก และบางครั้งนักท่องเที่ยวอาจถูกไล่ออกจากสนามบินกลางดึก โดยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ซึ่งจะเข้ามาปลุกแทบทุก 30 นาที และอีกเรื่องที่น่าเวียนหัว เจ้าหน้าที่พูดภาษาอังกฤษได้น้อยมาก ทำให้สื่อสารกันไม่รู้เรื่อง
สนามบินที่แย่ที่สุดในโลก อันดับ 8. สนามบินมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
อันดับ 8 สนามบินมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ นักท่องเที่ยวพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า หากใครมีโอกาสมาใช้บริการที่สนามบินแห่งนี้ ให้ระวังโดนรีดไถ เพราะแนวโน้มไม่รอดมีสูง ชาวฟิลิปปินส์คนหนึ่งแนะนำว่า เมื่อถูกรีดไถ ให้แกล้งทำเป็นไม่เข้าใจในสิ่งที่เขาพูด แล้วหาจังหวะเผ่นจะดีที่สุด
สนามบินที่แย่ที่สุดในโลก อันดับ 7. สนามบินมุมไบ ประเทศอินเดีย
อันดับ 7 สนามบินมุมไบ ประเทศอินเดีย ไม่มีร้านค้าและร้านอาหารให้บริการในเวลากลางคืน สภาพอากาศภายในสนามบินร้อนอบอวล รวมถึงห้องน้ำยังสกปรกสุดขยาด
สนามบินที่แย่ที่สุดในโลก อันดับ 6. สนามบินโอแฮร์ ชิคาโก สหรัฐอเมริกา
อันดับ 6 สนามบินโอแฮร์ ชิคาโก สหรัฐอเมริกา ใครหวังจะมานอนค้างรอขึ้นเครื่องที่นี่อาจเป็นฝันร้าย หรือเรียกให้ถูกคงไม่มีโอกาสจะฝัน เพราะความสกปรกและเสียงดังอลหม่านจะเล่นเอาหลับไม่ลง!
สนามบินที่แย่ที่สุดในโลก อันดับ 5. สนามบินเดลลี ประเทศอินเดีย
อันดับ 5 สนามบินเดลลี ประเทศอินเดีย นักท่องเที่ยวสามารถชมนกที่บินว่อนสลับกับการตบยุงเพลินๆ ตลอดจนสูดดมสิ่งสกปรกมากมาย อาจหลงทางเพราะป้ายบอกทางมีน้อย และคนแออัดเบียดเสียด หนวกหูกับเสียงประกาศบ่อยครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืน
สนามบินที่แย่ที่สุดในโลก อันดับ 4. สนามบินลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา
อันดับ 4 สนามบินลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา ห้องน้ำภายในสนามบินแห่งนี้นอกจากจะสกปรกมากๆ แล้ว ยังนั่งลำบาก เพราะทำจากโลหะ ส่งผลให้ฉ่ำเบื้องล่างจนต้องสะดุ้ง รวมถึงการประกาศออกลำโพงด้วยเสียงอันดังและถี่เกินไปก็เป็นหนึ่งในฝันร้ายของผู้มาเยือน
สนามบินที่แย่ที่สุดในโลก อันดับ 3. สนามบินเจเอฟเค นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา
อันดับ 3 สนามบินเจเอฟเค นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา นักท่องเที่ยวจำนวนมากที่เคยใช้บริการและนอนรอขึ้นเครื่องลงความเห็นว่า สนามบินแห่งนี้ แออัดไปด้วยผู้คน สร้างความไม่สะดวกสบาย แถมไม่วายสกปรก!
สนามบินที่แย่ที่สุดในโลก อันดับ 2. สนามบินเชเรมีเทียโว ประเทศรัสเซีย
อันดับ 2 สนามบินเชเรมีเทียโว ประเทศรัสเซีย ถูกนักท่องเที่ยวขนานนามว่าเป็น “ถ้ำ” เพราะทั้งมืด เหม็น สกปรก เก้าอี้ให้บริการมีน้อยและไม่สะดวกสบาย รอคิวยาวเหยียด เจ้าหน้าที่สนามบินช่วยเหลือหรือชี้แนะอะไรไม่ได้ แถมราคาอาหารยังแพงลิบ นักท่องเที่ยวบางคนถึงกับหลุดปากว่า “นี่มัน..นรกบน
สนามบินที่แย่ที่สุดในโลก อันดับ 1. สนามบินนานาชาติชาร์ลส์ เดอ โกลล์ ประเทศฝรั่งเศส
อันดับ 1 สนามบินนานาชาติชาร์ลส์ เดอ โกลล์ แห่งกรุงปารีส ขึ้นชื่อว่าเป็น สนามบินที่สกปรกที่สุดในโลก เพราะเต็มไปด้วยกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ เก้าอี้นั่งไม่สะดวกสบาย สภาพอากาศภายในสุดร้อน กลายเป็นแหล่งพักพิงของคนเร่ร่อน สืบเนื่องไปถึงการเกิดเหตุของหายเป็นประจำ
ไทยไลอ้อนแอร์ (อังกฤษ:Thai Lion Air)
วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
Posted by ศิวกร กรรมเเต่ง
ไทยไลอ้อนแอร์ (อังกฤษ:Thai Lion Air)
ไทยไลอ้อนแอร์ (อังกฤษ:Thai Lion Air) เป็นสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย[1] สายการบินไทยไลอ้อนแอร์ เกิดจากการร่วมทุนระหว่างสายการบินไลอ้อนแอร์ ประเทศอินโดนีเซีย และกลุ่มนักธุรกิจชาวไทย [2] โดยจะเริ่มต้นเปิดให้บริการจาก กรุงเทพ - ดอนเมือง ไปยังเส้นทางภายในประเทศ และเส้นทางระหว่างประเทศ โดยเริ่มให้บริการในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556[3] ด้วยเครื่องบินแบบ โบอิ้ง 737-900ER[4] และให้บริการด้วยเครื่องบินแบบ เอทีอาร์ 72-600 จากฐานการบิน ท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ฐานการบินแห่งที่สอง) ไปยังเมืองในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2557 เป็นต้นไป
ไทยไลอ้อนแอร์ (อังกฤษ:Thai Lion Air) เป็นสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย[1] สายการบินไทยไลอ้อนแอร์ เกิดจากการร่วมทุนระหว่างสายการบินไลอ้อนแอร์ ประเทศอินโดนีเซีย และกลุ่มนักธุรกิจชาวไทย [2] โดยจะเริ่มต้นเปิดให้บริการจาก กรุงเทพ - ดอนเมือง ไปยังเส้นทางภายในประเทศ และเส้นทางระหว่างประเทศ โดยเริ่มให้บริการในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556[3] ด้วยเครื่องบินแบบ โบอิ้ง 737-900ER[4] และให้บริการด้วยเครื่องบินแบบ เอทีอาร์ 72-600 จากฐานการบิน ท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ฐานการบินแห่งที่สอง) ไปยังเมืองในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2557 เป็นต้นไป
สายการบินบางกอกแอร์เวย์ (อังกฤษ: Bangkok Airways)
สายการบินบางกอกแอร์เวย์ (อังกฤษ: Bangkok Airways) เป็นสายการบินเชิงพาณิชย์ ดำเนินงานโดย บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด ซึ่งเริ่มดำเนินงานกิจการด้านการบินเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2511 ในแผนกการบินสหกลแอร์ บริษัท กรุงเทพสหกล จำกัด ซึ่งในระยะแรกได้ดำเนินกิจการทำการบินบริการให้แก่หน่วยงานของรัฐบาลรัฐบาล รัฐวิสาหกิจและธุรกิจ เอกชนต่าง ๆ
ในปัจจุบัน บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด มีเครื่องบินเอทีอาร์ 72-500 จากประเทศฝรั่งเศส ขนาด 70 ที่นั่ง จำนวน 8 ลำ เครื่องบินแอร์บัส เอ 320 ขนาด 162 ที่นั่ง จำนวน 5 ลำ และ แอร์บัส 319 ขนาด 144 ที่นั่ง จำนวน 2 ลำ แอร์บัส 319 ขนาด 138 ที่นั่ง จำนวน 2 ลำ แอร์บัส 319 ขนาด 120 ที่นั่ง (Dual Class) จำนวน 4 ลำ รวม 21 ลำ ให้บริการแก่ผู้โดยสาร
สายการบินบางกอกแอร์เวย์ (อังกฤษ: Bangkok Airways) เป็นสายการบินเชิงพาณิชย์ ดำเนินงานโดย บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด ซึ่งเริ่มดำเนินงานกิจการด้านการบินเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2511 ในแผนกการบินสหกลแอร์ บริษัท กรุงเทพสหกล จำกัด ซึ่งในระยะแรกได้ดำเนินกิจการทำการบินบริการให้แก่หน่วยงานของรัฐบาลรัฐบาล รัฐวิสาหกิจและธุรกิจ เอกชนต่าง ๆ
ในปัจจุบัน บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด มีเครื่องบินเอทีอาร์ 72-500 จากประเทศฝรั่งเศส ขนาด 70 ที่นั่ง จำนวน 8 ลำ เครื่องบินแอร์บัส เอ 320 ขนาด 162 ที่นั่ง จำนวน 5 ลำ และ แอร์บัส 319 ขนาด 144 ที่นั่ง จำนวน 2 ลำ แอร์บัส 319 ขนาด 138 ที่นั่ง จำนวน 2 ลำ แอร์บัส 319 ขนาด 120 ที่นั่ง (Dual Class) จำนวน 4 ลำ รวม 21 ลำ ให้บริการแก่ผู้โดยสาร
ในอนาคตทาง บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด ได้วางแผนที่จะเช่าซื้อแอร์บัส เอ 350-800XWB ขนาด 270 ที่นั่ง มาเข้าประจำการจำนวน 6 ลำอีกด้วย เพื่อจะขยายเส้นทางให้สามารถบินไปยังทวีปยุโรปได้ โดยล่าสุดพึ่งปลด โบอิง 717-200 เนื่องจากมีอายุการใช้งานมากและไม่สามารถบินในระยะทางไกลได้ อีกทั้งทาง บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด หวังจะร่วมมือกับแอร์บัสไประยะยาวเพราะเครื่องบินแอร์บัส นักบินเรียนรู้เพียงเครื่องเดียวก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเครื่องรุ่นอื่น ๆ ส่วนเอทีอาร์ 72-500 จะยังประจำการต่อไปเพราะเป็นเครื่องบินที่ใช้งานได้ดีในระยะทางใกล้ ๆ และเป็นเครื่องบินใบพัดที่มีความปลอดภัยและประหยัดเมื่อเทียบกับเครื่อง Turboprop รุ่นอื่น ๆ
ไทยแอร์เอเชีย (ภาษาอังกฤษ: Thai AirAsia)
ไทยแอร์เอเชีย (ภาษาอังกฤษ: Thai AirAsia) (IATA: FD, ICAO: AIQ, Callsign: THAI ASIA) ด้วยสโลแกนหลัก ใครๆ ก็บินได้ (Everyone Can Fly) เป็นแรงจูงใจและกระตุ้นให้ผู้โดยสารที่ไม่เคยเดินทางโดยเครื่องบิน ได้เดินทางด้วยราคาที่เหมาะสม ซึ่งรูปแบบการนำเสนอคือ การเดินทางแบบเรียบง่าย การเดินทางในระยะสั้นตั๋วค่าโดยสารไม่ถูกบวกเพิ่มด้วยอาหาร และเครื่องดื่ม สายการบินไทยแอร์เอเชีย มีความโดดเด่น เนื่องจากเป็นสายการบินที่มีราคาเหมาะสม จากต้นทุนได้ถูกควบคุมในทุกวิธีการ อีกทั้งวัฒนธรรมทางองค์กรที่มีการบริหารงานอย่างมืออาชีพ ทำให้สายการบินไทยแอร์เอเชีย เติบโตได้อย่างรวดเร็วมากภายในระยะเวลาไม่กี่ปี
สายการบินไทยแอร์เอเชีย มีความแปลกใหม่ และเน้นการใช้เทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก โดยลดต้นทุนจากการใช้งานบุคลากรให้ใช้งานผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งมีความสะดวกรวดเร็วมากกว่า พร้อมทั้งจ่ายด้วยบัตรเครดิตได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย โดยการจองที่นั่งผ่านทางระบบออนไลน์ ไทยแอร์เอเชียยังเป็นสายการบินผู้ให้การสนับสนุนคณะกรรมการผู้ตัดสินฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก 2012 อย่างเป็นทางการ และ ทีมฟุตบอลต่างๆ ที่สังกัดสามคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยอีกด้วย
นกแอร์ Nok Air
นกแอร์ (อังกฤษ: Nok Air) เป็นสายการบินราคาประหยัดของประเทศไทย เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2547 ภายใต้ชื่อบริษัท สกายเอเชีย จำกัด (Sky Asia Ltd.) และเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2549 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (Nok Airlines Co., Ltd.) และต่อมาหลังเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทสายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) (Nok Airlines Public Company Limited)
สายการบินนกแอร์ ก่อตั้งขึ้นโดยมีบริษัทร่วมทุนดังนี้ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (ถือหุ้น 49%) บริษัท นกแอร์แมนเนจเม้นท์ฮ่องกง จำกัด (25%) บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด (สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์) (6%) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (5%) บริษัท คิง เพาเวอร์ อินเตอร์เนชั่นแนลจำกัด (5%) ผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ (10%) โดยมี คุณพาที สารสิน เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ตั้งแต่ก่อตั้งสายการบิน
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Thai Airways International Public Company Limited; ชื่อย่อ: ไทย, THAI) เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคม ทำหน้าที่ดำเนินธุรกิจการบินพาณิชย์ ในฐานะสายการบินแห่งชาติของประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2503[3] โดยปฏิบัติการบินจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นหลัก ทั้งนี้ การบินไทยยังได้ร่วมก่อตั้งกลุ่มพันธมิตรการบิน สตาร์อัลไลแอนซ์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในสายการบินนกแอร์ และเปิดตัวสายการบินลูก ไทยสมายล์ อีกด้วย
ปัจจุบันการบินไทยบินตรงสู่ 71 ที่หมายใน 4 ทวีป 55 ประเทศทั่วโลก จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ด้วยฝูงบินกว่า 92 ลำ การบินไทยเป็นสายการบินลำดับต้นในเอเชีย ที่ทำการบินในเส้นทางกรุงเทพ – ลอนดอน (ท่าอากาศยานฮีทโธรว์) นอกจากนี้ การบินไทยได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากองค์การอนามัยโลกว่าด้วยสุขอนามัยบนเครื่องบินอีกด้วย
ท่าอากาศยานนานาชาติปารีส
ท่าอากาศยานปารีส-ชาร์ล เดอ โกล (อังกฤษ: Paris-Charles de Gaulle Airport; ฝรั่งเศส: Aéroport Paris-Charles-de-Gaulle) หรือเรียกโดยทั่วไปว่า ท่าอากาศยานรัวซี (Roissy) ตั้งอยู่ที่รัวซี กรุงปารีส ฝรั่งเศส อยู่ห่างจากตัวเมืองปารีสไปทางตะวันออกเฉีนงเหนือประมาณ 25 กิโลเมตร นับเป็นประตูสำคัญในการเดินทางเข้าออกประเทศฝรั่งเศส นอกจากนี้ยังเป็นท่าอากาศยานหลักของสายการบินแอร์ฟรานซ์ด้วย ท่าอากาศยานแห่งนี้ ตั้งชื่อตามชาร์ล เดอ โกล วีรบุรุษ และผู้นำขบวนการปลดปล่อยฝรั่งเศส
ท่าอากาศยานนานาชาติเซี่ยงไฮ้ผู่ตง
ท่าอากาศยานนานาชาติเซี่ยงไฮ้ผู่ตง (จีนตัวย่อ: 上海浦东国际机场, จีน: 上海浦東國際機場, พินอิน: Shànghǎi Pǔdōng Guójì Jīchǎng) ตั้งอยู่ทางตะวันออกของผู่ตง ในเขตเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นประตูหลักสู่ประเทศจีน รองรับผู้โดยสารระหว่างประเทศกว่า 17 ล้านคน ในปีพ.ศ. 2549 มากกว่าท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง และยังเป็นท่าอากาศยานหลักของไชน่าอีสเทิร์นแอร์ไลน์และเซี่ยงไฮ้แอร์ไลน์
ท่าอากาศยานผู่ตง เปิดใช้เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 ให้บริการด้วยอาคารผู้โดยสาร 1 หลัง และทางวิ่ง 1 เส้น ต่อมาในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2548 เปิดใช้ทางวิ่งเส้นที่ 2 และกำลังก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2550 ส่วนแผนแม่บทระยะยาวนั้น จะมีอาคารผู้โดยสารทั้งหมด 3 หลัง และอาคารเทียบเครื่องบินระยะไกลอีก 2 หลัง รวมถึงทางวิ่งทั้งหมด 5 เส้น สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 80 ล้านคนต่อปี
ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง
ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง (จีน:香港國際機場, จีนกลาง: Xiānggǎng Guójì Jīcháng, จีนกวางตุ้ง: hoeng1 gong2 gwok3 zai3 gei1 coeng4) หรือเรียกโดยทั่วไปว่าสนามบินเช็กแล็บก็อก (จีน: 赤鱲角機場, จีนกลาง: Chìliè Jiǎo Jīcháng, จีนกวางตุ้ง: cek3 laap6 gok3 gei1 coeng4) เป็นท่าอากาศยานหลักของเขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน เปิดใช้เมื่อปีพ.ศ. 2541 แทนที่ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกงเดิม
ท่าอากาศยานแห่งนี้เปิดใช้งานเพื่อการพาณิชย์เมื่อปี พ.ศ. 2541 และเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารที่สำคัญของสาธารณรัฐประชาชนจีน เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้ว่าจะมีประวัติความเป็นมาไม่ยาวนานนัก แต่ท่าอากาศยานแห่งนี้ก็ได้รับรางวัลท่าอากาศยานยอดเยี่ยมระดับนานาชาติมาหลายครั้งในช่วงปี พ.ศ. 2544-2548 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2549 จึงเสียตำแหน่งในรางวัลท่าอากาศยานยอดเยี่ยมที่มอบโดย Skytrax ให้แก่ท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงี ปัจจุบันท่าอากาศยานแห่งนี้ได้รับการจัดอันดับจาก Skytrax ให้เป็นท่าอากาศยานระดับ 5 ดาวพร้อมกับท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงีและท่าอากาศยานนานาชาติอินชอน พ.ศ. 2552 ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกงได้รับการลงคะแนนให้เป็นท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลก อันดับที่สองรองจากท่าอากาศยานนานาชาติอินชอน [2]
ท่าอากาศยานแห่งนี้มีการปฏิบัตงานตามขั้นตอนการบริการผู้โดยสารแบบหมุนเวียน ในแต่ละปีสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 45 ล้านคน และน้ำหนักสินค้าอีก 4.3 ล้านตัน ที่นี่ยังเป็นฐานหลักของสายการบินคาเธย์แปซิฟิกและดราก้อนแอร์ และสายการบินขนาดเล็กอีกมากมาย ได้แก่ ฮ่องกงเอ็กซ์เพรสแอร์เวย์ ฮ่องกงแอร์ไลน์ โอเอซิสฮ่องกงแอร์ไลน์ และแอร์ฮ่องกง
ท่าอากาศยานนานาชาติชิคาโกโอแฮร์
ท่าอากาศยานนานาชาติชิคาโกโอแฮร์ (Chicago O'Hare International Airport) ตั้งอยู่ที่ ชิคาโก, รัฐอิลลินอยส์, สหรัฐอเมริกาห่างจากตัวเมืองชิคาโกไปทางตัวะนตกเฉียงเหนือ 27 กิโลเมตร (17 ไมล์) เป็นท่าอากาศยานหลักของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ และเป็นท่าอากาศยานรองของสายการบินอเมริกันแอร์ไลน์ บริหารงานโดยกรมขนส่งทางอากาศเมืองชิคาโก (City of Chicago Department of Aviation)
ก่อนหน้าปี พ.ศ. 2548 โอแฮร์เคยเป็นท่าอากาศยานที่มีความหนาแน่นที่สุด ในกรณีการขึ้น-ลงของเครื่องบิน เนื่องจากในปีนั้นกรมการบินสหรัฐอเมิรกาได้ลดเที่ยวบินลง[3] เพื่อลดความล่าช้า จึงทำให้ท่าอากาศยานนานาชาติฮาร์ทสฟิลด์-แจ็คสัน แอตแลนตากลายมาเป็นท่าอากาศยานที่มีความหนาแน่นที่สุด ส่วนโอแฮร์ตกมาเป็นอันดับที่ 2 และยังเป็นอันดับที่ 2 ของโลก ด้วยจำนวนผู้โดยสาร 76,248,911 คน ในปีพ.ศ. 2549 ลดลง 0.3% จากปีพ.ศ. 2548 ท่าอากาศยานโอแฮร์ยังให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศกว่า 60 เส้นทางบิน ในปีพ.ศ. 2548 โอแฮร์จัดเป็นประตูสู่สหรัฐอเมริกาลำดับที่ 4 เป็นรองจาก ท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี ในนิวยอร์ก, ท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส และท่าอากาศยานนานาชาติไมอามี ซึ่งมีจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศมาใช้บริการมากกว่า
ท่าอากาศยานนานาชาติโอแฮร์ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นท่าอากาศยานยอดเยี่ยมของอเมริกาเหนือตลอดช่วง 9 ปีที่ผ่านมาจากการจัดอันดับของนิตยสาร Business Traveler Magazine (พ.ศ. 2541- 2546) และ Global Traveler Magazine (พ.ศ. 2548-2549) สร้างประวัติศาสตร์การเป็นท่าอากาศยานชั้นนำของโอแฮร์[5]
ถึงแม้ว่าโอแฮร์จะเป็นท่าอากาศยานหลัก แต่ท่าอากาศยานนานาชาติชิคาโกมิดเวย์ ซึ่งเป็นท่าอากาศยานอันดับสอง อยู่ใกล้กับย่านเศรษฐกิจของชิคาโก (Chicago Loop) มากกว่า
ท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส
ท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส (อังกฤษ: Los Angeles International Airport) เป็นท่าอากาศยานหลักของลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ชาวแคลิฟอร์เนียจะเรียกท่าอากาศยานแห่งนี้อย่างย่อว่า แอลเอเอกซ์ ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของลอสแอนเจลิส ห่างจากตัวเมืองไปประมาณ 24 กิโลเมตร
แอลเอเอกซ์เป็นท่าอากาศยานหลักของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ และเป็นท่าอากาศยานรองของสายการบินอเมริกันแอร์ไลน์และอลาสกาแอร์ไลน์ เนื่องจากท่าอากาศยานแห่งนี้ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเล ทำให้ต้องเจอกับปัญหาเรื่องหมอก จนบางครั้งจะต้องให้เครื่องบินเปลี่ยนไปลงที่ท่าอากาศยานนานาชาติแอลเอ/ออนแทริโอ ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางตะวันออก 76 กิโลเมตร
ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง
ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง (ชื่อเดิมคือ ท่าอากาศยานกรุงเทพ) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า สนามบินดอนเมือง ตั้งอยู่บนถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง 24 กิโลเมตร ทางตอนเหนือของกรุงเทพมหานคร เป็นจุดศูนย์กลางทางการบินในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สามารถเชื่อมโยงการคมนาคมทางอากาศไปยังจุดต่างๆ ของโลกได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการบินภายในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน หรือระหว่างทวีปยุโรป ทวีปอเมริกา ทวีปออสเตรเลีย ซึ่งสามารถใช้เป็นจุดแวะลงและเชื่อมต่อในการเดินทางของผู้โดยสารตลอดจนพัสดุไปรษณียภัณฑ์ไปยังจุดอื่นๆ ได้อย่างดี
เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2457 โดยปิดตัวลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 วันเดียวกับที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเปิดใช้งาน โดยสนามบินดอนเมืองถูกเปลี่ยนเป็นสถานที่ซ่อมเครื่องบิน ฝึกบิน และสำหรับจอดเครื่องบินส่วนตัวของบุคคลสำคัญ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา ท่าอากาศยานดอนเมืองได้กลับมาให้บริการเที่ยวบินแบบประจำ (scheduled flight) เที่ยวบินในประเทศอีกครั้งโดยมี สายการบินไทย นกแอร์ วันทูโก และพีบีแอร์มาเปิดให้บริการในลำดับแรก หลังจากพบปัญหาหลายอย่างที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ[1] และในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ท่าอากาศยานดอนเมืองได้กลับมาเปิดให้บริการในฐานะสนามบินนานาชาติแห่งที่สองอีกครั้ง เนื่องด้วยนโยบายรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรต้องการลดความแออัดของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิลง
อาคารผู้โดยสารปัจจุบันท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง มีอาคารผู้โดยสาร 3 อาคาร คือ อาคาร 1 อาคาร 2 และอาคาร 3 ทุกอาคารตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของสนามบิน ด้านหน้าติดกับถนนวิภาวดีรังสิต เรียงลำดับจากทิศเหนือไปทิศใต้ (จากซ้ายไปขวาเมื่อหันหน้าเข้าหาสนามบินจากถนนวิภาวดีรังสิต) โดยอาคารแรกที่ก่อสร้าง คือ อาคาร 3 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2528 (โดยมีการขยายอาคาร 3 เพิ่มเติมในภายหลัง ซึ่งแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2538) ต่อมา คือ อาคาร 1 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2531 และสุดท้าย คือ อาคาร 2 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2538
รูปภาพเพิ่มเติม
เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2457 โดยปิดตัวลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 วันเดียวกับที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเปิดใช้งาน โดยสนามบินดอนเมืองถูกเปลี่ยนเป็นสถานที่ซ่อมเครื่องบิน ฝึกบิน และสำหรับจอดเครื่องบินส่วนตัวของบุคคลสำคัญ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา ท่าอากาศยานดอนเมืองได้กลับมาให้บริการเที่ยวบินแบบประจำ (scheduled flight) เที่ยวบินในประเทศอีกครั้งโดยมี สายการบินไทย นกแอร์ วันทูโก และพีบีแอร์มาเปิดให้บริการในลำดับแรก หลังจากพบปัญหาหลายอย่างที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ[1] และในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ท่าอากาศยานดอนเมืองได้กลับมาเปิดให้บริการในฐานะสนามบินนานาชาติแห่งที่สองอีกครั้ง เนื่องด้วยนโยบายรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรต้องการลดความแออัดของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิลง
อาคารผู้โดยสารปัจจุบันท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง มีอาคารผู้โดยสาร 3 อาคาร คือ อาคาร 1 อาคาร 2 และอาคาร 3 ทุกอาคารตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของสนามบิน ด้านหน้าติดกับถนนวิภาวดีรังสิต เรียงลำดับจากทิศเหนือไปทิศใต้ (จากซ้ายไปขวาเมื่อหันหน้าเข้าหาสนามบินจากถนนวิภาวดีรังสิต) โดยอาคารแรกที่ก่อสร้าง คือ อาคาร 3 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2528 (โดยมีการขยายอาคาร 3 เพิ่มเติมในภายหลัง ซึ่งแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2538) ต่อมา คือ อาคาร 1 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2531 และสุดท้าย คือ อาคาร 2 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2538
รูปภาพเพิ่มเติม